ยินดีต้อนรับทุกคนค่ะ



ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจัดองค์กรของกิจการโรงแรม


การจัดองค์กรของงานการโรงแรม สามารถแบ่งการบริหารงานเป็นส่วนต่างๆ ได้ดังนี้



1. คณะกรรมการบริหาร (Board of Director) จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ถือหุ้นของกิจการ โดยคณะกรรมการบริหารนี้มีหน้าที่เพื่อกำหนดนโยบายของการบริหารงานโรงแรมเพื่อให้การดำเนินงานภายในโรงแรมเป็นไปอย่าง คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถตรวจสอบและแก้ไขในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

2. ผู้จัดการทั่วไป (General Manager) เป็นบุคคลที่ได้รับคัดเลือกมาจากคณะกรรมการบริหาร ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารหรือเป็นบุคคลภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งให้ เงินเดือนเป็นค่าตอนแทน เพราะคนที่จะเป็นได้ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ โดยหน้าที่และ รับผิดชอบของผู้จัดการทั่วไปคือ
1. กำหนดเป้าหมาย (Targeting) ของโรงแรม
2. วางแผนการดำเนินงาน (Planning) ของทุกฝ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. มอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Assigning)
4. สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีภายในโรงแรม(Communication)
5. ปรับปรุงการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ในโรงแรม (Evaluation & improvement)
6. จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในโรงแรม (Training)


3. ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป (Assistant General Management) เป็นบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากกรรมการบริหาร หรือจาก บุคคลภายนอกกลุ่มบริหารก็ได้ เพราะผู้ช่วยผู้จัดการนั้น จะต้องมีความรู้ความสามารถ ในการบริหารงานโรงแรมเช่นเดียวผู้จัดการทั่วไป แต่ประสบการณ์ในการบริหารงานโรงแรมนั้นอาจจะน้อยกว่าผู้จัดการทั่วไป ซึ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้จัดการมีดังนี้
1. ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการทั่วไป
2. สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในโรงแรม
3. ตรวจสอบผลการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการปฏิบัติงานใหม่ๆ ที่เป็น ประโยชน์ในการทำงาน

4. ผู้จัดการประจำฝ่ายต่างๆ (Resident Manager) เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการบริหารงานในระดับฝ่าย ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้
1. มีความรับผิดชอบในทรัพย์สินของฝ่ายตน
2. ดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานภายในฝ่ายของตนอย่างใกล้ชิด
3. ให้คำปรึกษากับพนักงานภายในฝ่ายของตน
4. รายงานผลการปฏิบัติของฝ่ายที่ตนรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชา

ที่มา
http://www.phukethotelsupply.com/index.php?mo=3&art=233535

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยว

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว



ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจทมี่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลายด้าน โดยเป็นธุรกิจที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจร้านค้าของที่ระลึก และธุรกิจอื่นๆ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเหล่านี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว และเป็นธุรกิจที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ในฐานะผู้เป็นคนกลางติดต่อประสานงานระหว่างธุรกิจต่างๆ เหล่านี้กับนักท่องเที่ยว ดังนั้นการศึกษาถึงธุรกิจท่องเที่ยวแต่ละประเภทเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง



ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งพอจำแนกออกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยว และธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้



1. ธุรกิจที่พักโรงแรม




ธุรกิจที่พักโรงแรม (Accommodation Business) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจที่พักแรมหรือธุรกิจโรงแรม (Accommodation or Hotel Business) หมายถึง ธุรกิจที่ให้บริการด้านที่พักอาศัยแก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งบริการอาหารและเครื่องดื่มตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยคิดค่าตอบแทนเพื่อผลกำไรของธุรกิจนั้นๆ ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า ธุรกิจโรงแรมมากกว่า “ธุรกิจที่พักแรม



ประเภทของที่พักแรม

การแบ่งประเภทของที่พักแรมมีความแตกต่างกันออกไปตามเกณฑ์การจัดแบ่งแล้วแต่จะเป็นการจัดจำพวกเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อนโยบายในการลงทุนเพื่อเก็บรวบรวมสถิติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบางประเภท เป็นต้น เกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้พอสรุปได้คือ

  1. จัดตามเกณฑ์ความสะดวกสบาย โดยใช้คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ขนาดของการบริการและราคาเป็นตัวกำหนด การเรียกชื่อนี้จะต่างกันในบางประเทศ เช่น ในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส นิยมเรียกเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว หรือ 4 ดาว มากกว่าที่จะเรียกว่า โรงแรมหรูหรา (Deluxe Hotel) หรือโรงแรมชั้นหนึ่ง (First Class Hotel)


  2. จัดตามเกณฑ์ช่วงระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ เช่น ยึดฤดูกาลเป็นเกณฑ์ หรือโรงแรมประเภทชั่วคราว อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น


  3. จัดตามเกณฑ์วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเป็นตัวกำหนด เช่น ที่พักบนเขาในประเทศเมืองหนาว ที่พักตามชายทะเล ทะเลสาบ ที่พักในป่า สวนสาธารณะใหญ่ๆ


  4. จัดตามเกณฑ์ราคา ซึ่งคิดคำนวณจากจำนวนเงินลงทุน และจำนวนห้องที่โรงแรมนั้นๆ มีอยู่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
    4.1. ระดับที่ 1 ราคาห้องพักต่อห้อง / คืน 2,500 บาทขึ้นไป
    4.2. ระดับที่ 2 ราคาห้องพักต่อห้อง / คืน 1,500 – 2,000 บาทขึ้นไป
    4.3. ระดับที่ 3 ราคาห้องพักต่อห้อง / คืน ต่ำกว่า 1,500 บาท


  5. จัดตามเกณฑ์ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
    5.1. สถานประกอบการดั้งเดิมและที่นิยมกันจนถึงปัจจุบัน (คือโรงแรม)
    5.2. สถานประกอบการเติมเต็ม ได้แก่ หอพักเยาวชน ที่พักสำหรับหลีกหนีความสับสนวุ่นวาย หรือเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เช่น ที่พักในรถ (Trailer Guest House)

2.ธุรกิจการขนส่ง

ธุรกิจการขนส่ง (Transportation Business) เป็นธุรกิจที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยวจากจุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง การขนส่งจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากผลของการพัฒนาการคมนาคมขนส่ง ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมีเวลามากขึ้นในการท่องเที่ยวและพักผ่อน รวมทั้งหาความสนุกเพลิดเพลิน ณ จุดหมายปลายทาง โดยเสียเวลาเดินทางสั้นลง นอกจากนี้ยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางและระดับล่าง เนื่องจากมีการขนส่งเพื่อมวลชน เช่น รถไฟ รถเมล์ รถบัส เป็นต้น

รูปแบบของการคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

การบริการขนส่งในเชิงพาณิชย์นั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้โดยสารและสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่การขนส่งนี้นับว่าอิทธิพลกับการท่องเที่ยวโดยตรง ก็คือ การขนส่งผู้โดยสาร นักท่องเที่ยว ซึ่งอาจแบ่งออกตามรูปแบบการขนส่งได้ 3 ประเภท คือ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. การขนส่งทางบก (Land Transportation) การขนส่งผู้โดยสารทางบก ในปัจจุบันอาจทำได้ 2 ทาง คือ การขนส่งทางบก (Car Transportation) กับการขนส่งทางรถไฟ (Rail Transportation) ดังนี้ 1.1 การขนส่งทางรถ (CarTransportation) การขนส่งทางรถ เป็นการขนส่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการท่องเที่ยว เส้นทางถนนพัฒนามาจากเส้นทางเดินเท้าในสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีได้พบร่องรอยเส้นทางที่คนโบราณใช้เดินทางเท้าซ้ำซากในหลายดินแดน จนกระทั่งพัฒนาเป็นถนนหนทางในปัจจุบัน และพัฒนาพาหนะในการเดินทางขนส่งควบคู่กันไป
    ประเภทของการขนส่งทางรถ

    1. รถโดยสารประจำเส้นทาง (Scheduled Buses) ปัจจุบันรถโดยสารประจำเส้นทางหรือรถบัสโดยสาร เป็นพาหนะหลักในการเดินทางระยะไกลๆ บนภาคพื้นดิน และเป็นพาหนะเดินทางที่มีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์หรือรถไฟในระยะทางไกลที่เท่ากัน
    2. รถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ (Recreational Vehicles) นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้ เพราะจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นครอบครัวและมีกิจกรรมบริการตนเอง

    3. การขนส่งทางรถไฟ (Rail Transportation) เป็นการขนส่งที่ต้องลงทุนสูงมาก เพราะต้องมีสถานีบริการ (Terminal) เส้นทางวิ่ง (Track) และยานพาหนะ (Train) ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะประสบกับการขาดทุนมากกว่ากิจกรรมการขนส่งแบบอื่น



3. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก (Souvenir Business)

จากประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวของมนุษย์ตั้งแต่สมัยหลายพันปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามนุษย์มีการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เดินทางท่องเที่ยวเพื่อการค้า เพื่อการเจริญสัมพันธไมตรีทางการเมือง เพื่อศาสนา เป็นต้น และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวมีหลายกิจกรรมได้แก่ การศึกษาหาความรู้ การพักผ่อน การหาอาหารและเครื่องดื่มเพื่อประทังชีวิตรวมไปถึงการหาซื้อสินค้าที่มีจำหน่ายในถิ่นที่ไปเยือน และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นทั้งกิจกรรมที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยว หรือเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการท่องเที่ยว
ความหมายของสินค้าที่ระลึก (Souvenir) หมายถึง สิ่งของต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองของประเทศต่างๆ และมีความดึงดูดใจนักท่องเที่ยวในการซื้อ และนำผลิตผลนั้นๆ กลับไปยังภูมิลำเนาของตนเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อาจจะเพื่อเป็นของที่ระลึก เพื่อเป็นของฝากหรือเพื่อใช้สอย
ลักษณะของสินค้าที่ระลึก
  1. เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น

  2. เป็นสินค้าหายาก ราคาแพง มีการผลิตและมีวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้น
  3. เป็นสินค้าราคาถูก
  4. มีความดึงดูดใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การตกแต่งลวดลายสีสัน

  5. เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่ายสะดวกซื้อ มีวางขายตามจุดต่างๆ อย่างเหมาะสม

  6. มีรูปร่างและน้ำหนักไม่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง

  7. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุ แรงงานในท้องถิ่นนั้น

  8. มีการแสดงขั้นตอนวิธีการทำให้นักท่องเที่ยวได้ชมหรือได้ทดลองทำเป็นการสร้างความประทับใจและเห็นคุณค่าของสินค้านั้นๆ
4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage Business)


ธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็นตัวการสำคัญไม่น้อยในการชักจูงให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยว ณ ตำบลนั้นๆ สิ่งชักจูงใจอาจจะเป็นความหรูหราโอ่โถง รสชาติของอาหาร ความแปลกพิเศษของอาหารซึ่งมักจะไม่มีขาย ณ ที่อื่นๆ บริษัทการบินหลายบริษัทจะชักจูงผู้โดยสารให้ใช้บริการของตน โดยการโฆษณาเรื่องอาหารโดยเฉพาะ

5. ธุรกิจนำเที่ยว (Tourism Business)

“ธุรกิจนำเที่ยว” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 นั้นมุ่งหมายถึง “การนำเที่ยว” เป็นสำคัญ โดยต้องมีการติดต่อโดยตรงกับนักท่องเที่ยว ณ ที่ต่างๆ ส่วนจะมีการจัดบริการด้านการเดินทางสถานที่พักแรม อาหาร หรือมัคคุเทศก์หรือไม่ หรือมีมากน้อยเพียงใด เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “การนำเที่ยว” เท่านั้น

6. ธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ (Others Tourism Business)

นอกจากธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มฯลฯ ในองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้การท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณมากขึ้นแล้วยังมีธุรกิจประเภทอื่นๆ อีกหลากหลายประเภทซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นผลมาจากการพัฒนาทางนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของมนุษย์ ทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเปลี่ยนไป และปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการและมีส่วนส่งเสริมดึงนักท่องเที่ยวให้เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สามารถจัดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ธุรกิจจัดการประชุมสัมมนา ธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการและสินค้า ธุรกิจเช่าซื้อลิขสิทธิ์ และธุรกิจการบันเทิงและนันทนาการ


วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Tourism Thailand

การท่องเที่ยวคือ ?

การท่องเที่ยวคือ ?

คำว่า "การท่องเที่ยว" เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันมานานแล้ว แต่ความหมายที่แท้จริงนั้นหมายถึงอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร และมีกี่ประเภทนั้นเรานั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอข้อมูลดังกล่าวเพื่อทำให้ทราบว่าการท่องเที่ยวคืออะไรกันแน่
ความของหมายของการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว(Tourism) หมายถึง การเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้
http://th.wikipedia.org/> ส่วนองค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ(World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยว หมายถึง การเดินทางโดยระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ ดังนั้นการท่องเที่ยว (Tourism) หมายถึง การเดินทางไปเยือนสถานที่ต่างถิ่นจะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศก็ได้ ซึ่งมิใช่เป็นที่พำนักอาศัยประจำของบุคคลนั้น และเป็นการเยือนชั่วคราว โดยไม่ใช่เพื่อเป็นการประกอบอาชีพหารายได้ และจะเดินทางไปเนกลุ่มหรือคนเดียวก็ได้

วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการดังต่อไปนี้

  1. การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Leisure Tour หรือ Recreation Tour หรือ Holiday Tour มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อนในวันหยุด การแสวงหาความสนุกสนาน บันเทิง รวมถึงการไปเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ชมการแสดง การเล่นกีฬา และนันทนาการ
  2. การท่องเที่ยวเพื่อทำธุรกิจ เป็นการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Business Tour หรือ Business Travel หรือ Professional Travel ซึ่งเป็นการเดินทางของนักธุรกิจ โดยมีกิจกรรมด้านธุรกิจเป็นจุดมุ่งหมายหลัก เช่น การเดินทางไปร่วมประชุม สัมมนา เจรจาธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็อาจมีการพักผ่อนหย่อนใจเป็นส่วนประกอบด้วยก็ได้ ในประเทศอุตสาหกรรม รายได้จากการท่องเที่ยวประเภทนี้มีอยู่สูงมาก เพราะนักท่องเที่ยวประเภทนี้เดินทางตลอดทั้งปี ไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ทั้งเป็นผู้ที่สามารถเสียค่าใช้จ่ายได้สูง

  3. การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลจูงใจ เป็นการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Incentive Tour ซึ่งมักจัดให้แก่พนักงานและลูกค้าของบริษัท และหน่วยงานต่างๆ หรือผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่บริษัทและหน่วยงานนั้นๆ การเดินทางอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเพื่อธุรกิจรวมอยู่ด้วยก็ได้ เช่น จัดให้ไปชมโรงงานผลิตสินค้า หรือไปประชุมสัมมนา มีการสังสรรค์เพื่อเชื่อมความสามัคคี เป็นต้น
  4. การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมสัมมนา เป็นการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Meeting Convention & Exhibition Tour โดยนักท่องเที่ยวมีจุดประสงค์เพื่อไปเข้าร่วมประชุมสัมมนา หรือไปชมการแสดงสินค้า การจัดนิทรรศการในโอกาสต่าง ๆ
  5. การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษเฉพาะกลุ่ม เป็นการท่องเที่ยวที่เรียกว่า Special – Interest Group Tour คือจัดขึ้นเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องใดโดยเฉพาะ เช่น การเดินทางไปชมการแข่งขันกีฬา หรือเล่นกีฬาบางชนิด การเที่ยวชมธรรมชาติและดูสัตว์ป่า การเที่ยวถ้ำ การดำน้ำดูปะการังและสัตว์น้ำ การชมโบราณสถาน

ประเภทของการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแบ่งได้เป็น 5 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. การท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือ การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตรวนเกษตรฟาร์มปศุสัตว์ เพื่อชื่นชมความสวยงามความสำเร็จ และเพลิดเพลิน ในแหล่งเกษตรกรรมนั้น บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้นเช่น สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงรวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ
  2. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชมงานประเพณีต่างๆ ในรอบปี ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆจัดขึ้น ทำให้ได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรีย์ ศิลป์มีความรู้ ความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ และมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและสภาพ แวดล้อมโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมการจัดการการท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการท่องเที่ยวและเยี่ยมชมสถานที่แสดงถึงความเป็นวัฒนธรรม เช่น การชมสถานโบราณวัตถุ โบราณสถาน ปราสาท พระราชวัง วัด ประเพณี รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในแต่ละยุคสมัย

  3. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ การรูปแบบการท่องเที่ยวที่ผสมผสานในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ โดยมีกิจกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพเป็นกิจกรรมสำคัญของการท่องเที่ยว และเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ และ แหล่งวัฒนธรรม เพื่อการพักผ่อน และการเรียนรู้ วิชาการรักษาสุขภาพ กายใจได้รับความเพลิดเพลินและสุนทรียภาพมีความรู้ต่อการรักษาคุณค่า และคุณภาพชีวิตที่ดี มีสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น



  4. การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ เช่นการเดินทางไปเยี่ยมเยียนลูกค้า หรือ ดูแลงานและได้ไปท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆประมาณ 1-2วัน
  5. การเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษา ชื่นชม และเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพธรรมชาติ สภาพสังคม วัฒนธรรม และชีวิตของคนในท้องถิ่น บนพื้นฐานความรู้และความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การท่องเที่ยวก้าวไกลเศรษฐกิจไทยก้าวหน้า

"การท่องเที่ยวก้าวไกลเศรษฐกิจไทยก้าวหน้า"
การท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีการท่องเที่ยวเป็นสินค้าหลักของประเทศ ซึ่งสร้างรายได้อย่างมหาศาลจนทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคง การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศต่างๆ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกันที่มีการท่องเที่ยวช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต และนำเม็ดเงินต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับสิ้นค้าส่งออกอย่างอื่นๆ ความสำคัญดังกล่าวนี้ทำให้การท่องเที่ยวในไทยเจริญเติบโตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยดังต่อไปนี้


ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นแหล่งที่มาของรายได้ในรูปเงินตราประเทศ ช่วยลดปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ สร้างอาชีพและจ้างงาน ก่อให้เดการกระจายรายได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษกฐกิจของท้องถิ่น และก่อให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ สำหรับความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อสังคมของประเทศ ช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น ช่วยสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ช่วยนลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของชุมชนในท้องถิ่น ช่วยกระตุ้นให้มีการคิดค้นนำเอาทรัพยากรส่วนเกินที่ไร้ค่ามาประดิษฐ์เป็นสินค้าที่ระลึกจำหน่าย

จากความสำคัญดังกล่าวปัจจุบันการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากนโยบายของรัฐบาลแต่ละสมัยที่สนับสนุนการท่องเที่ยวผ่านคำขวัญของรัฐบาล ส่วนปัจจุบันมีคำขวัญว่า "เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก" ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย จนทำให้ "การท่องเที่ยวก้าวไกลเศรษฐกิจไทยก้าวหน้า"

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

ได้บล็อกส่งงาน Internet

ได้บล็อกส่งงาน Internet