ยินดีต้อนรับทุกคนค่ะ



ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยว

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว



ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจทมี่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลายด้าน โดยเป็นธุรกิจที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจร้านค้าของที่ระลึก และธุรกิจอื่นๆ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเหล่านี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว และเป็นธุรกิจที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ในฐานะผู้เป็นคนกลางติดต่อประสานงานระหว่างธุรกิจต่างๆ เหล่านี้กับนักท่องเที่ยว ดังนั้นการศึกษาถึงธุรกิจท่องเที่ยวแต่ละประเภทเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง



ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งพอจำแนกออกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยว และธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้



1. ธุรกิจที่พักโรงแรม




ธุรกิจที่พักโรงแรม (Accommodation Business) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจที่พักแรมหรือธุรกิจโรงแรม (Accommodation or Hotel Business) หมายถึง ธุรกิจที่ให้บริการด้านที่พักอาศัยแก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งบริการอาหารและเครื่องดื่มตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยคิดค่าตอบแทนเพื่อผลกำไรของธุรกิจนั้นๆ ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า ธุรกิจโรงแรมมากกว่า “ธุรกิจที่พักแรม



ประเภทของที่พักแรม

การแบ่งประเภทของที่พักแรมมีความแตกต่างกันออกไปตามเกณฑ์การจัดแบ่งแล้วแต่จะเป็นการจัดจำพวกเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อนโยบายในการลงทุนเพื่อเก็บรวบรวมสถิติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบางประเภท เป็นต้น เกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้พอสรุปได้คือ

  1. จัดตามเกณฑ์ความสะดวกสบาย โดยใช้คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ขนาดของการบริการและราคาเป็นตัวกำหนด การเรียกชื่อนี้จะต่างกันในบางประเทศ เช่น ในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส นิยมเรียกเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว หรือ 4 ดาว มากกว่าที่จะเรียกว่า โรงแรมหรูหรา (Deluxe Hotel) หรือโรงแรมชั้นหนึ่ง (First Class Hotel)


  2. จัดตามเกณฑ์ช่วงระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ เช่น ยึดฤดูกาลเป็นเกณฑ์ หรือโรงแรมประเภทชั่วคราว อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น


  3. จัดตามเกณฑ์วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเป็นตัวกำหนด เช่น ที่พักบนเขาในประเทศเมืองหนาว ที่พักตามชายทะเล ทะเลสาบ ที่พักในป่า สวนสาธารณะใหญ่ๆ


  4. จัดตามเกณฑ์ราคา ซึ่งคิดคำนวณจากจำนวนเงินลงทุน และจำนวนห้องที่โรงแรมนั้นๆ มีอยู่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
    4.1. ระดับที่ 1 ราคาห้องพักต่อห้อง / คืน 2,500 บาทขึ้นไป
    4.2. ระดับที่ 2 ราคาห้องพักต่อห้อง / คืน 1,500 – 2,000 บาทขึ้นไป
    4.3. ระดับที่ 3 ราคาห้องพักต่อห้อง / คืน ต่ำกว่า 1,500 บาท


  5. จัดตามเกณฑ์ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
    5.1. สถานประกอบการดั้งเดิมและที่นิยมกันจนถึงปัจจุบัน (คือโรงแรม)
    5.2. สถานประกอบการเติมเต็ม ได้แก่ หอพักเยาวชน ที่พักสำหรับหลีกหนีความสับสนวุ่นวาย หรือเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เช่น ที่พักในรถ (Trailer Guest House)

2.ธุรกิจการขนส่ง

ธุรกิจการขนส่ง (Transportation Business) เป็นธุรกิจที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยวจากจุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง การขนส่งจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากผลของการพัฒนาการคมนาคมขนส่ง ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมีเวลามากขึ้นในการท่องเที่ยวและพักผ่อน รวมทั้งหาความสนุกเพลิดเพลิน ณ จุดหมายปลายทาง โดยเสียเวลาเดินทางสั้นลง นอกจากนี้ยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางและระดับล่าง เนื่องจากมีการขนส่งเพื่อมวลชน เช่น รถไฟ รถเมล์ รถบัส เป็นต้น

รูปแบบของการคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

การบริการขนส่งในเชิงพาณิชย์นั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้โดยสารและสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่การขนส่งนี้นับว่าอิทธิพลกับการท่องเที่ยวโดยตรง ก็คือ การขนส่งผู้โดยสาร นักท่องเที่ยว ซึ่งอาจแบ่งออกตามรูปแบบการขนส่งได้ 3 ประเภท คือ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. การขนส่งทางบก (Land Transportation) การขนส่งผู้โดยสารทางบก ในปัจจุบันอาจทำได้ 2 ทาง คือ การขนส่งทางบก (Car Transportation) กับการขนส่งทางรถไฟ (Rail Transportation) ดังนี้ 1.1 การขนส่งทางรถ (CarTransportation) การขนส่งทางรถ เป็นการขนส่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการท่องเที่ยว เส้นทางถนนพัฒนามาจากเส้นทางเดินเท้าในสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีได้พบร่องรอยเส้นทางที่คนโบราณใช้เดินทางเท้าซ้ำซากในหลายดินแดน จนกระทั่งพัฒนาเป็นถนนหนทางในปัจจุบัน และพัฒนาพาหนะในการเดินทางขนส่งควบคู่กันไป
    ประเภทของการขนส่งทางรถ

    1. รถโดยสารประจำเส้นทาง (Scheduled Buses) ปัจจุบันรถโดยสารประจำเส้นทางหรือรถบัสโดยสาร เป็นพาหนะหลักในการเดินทางระยะไกลๆ บนภาคพื้นดิน และเป็นพาหนะเดินทางที่มีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์หรือรถไฟในระยะทางไกลที่เท่ากัน
    2. รถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ (Recreational Vehicles) นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้ เพราะจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นครอบครัวและมีกิจกรรมบริการตนเอง

    3. การขนส่งทางรถไฟ (Rail Transportation) เป็นการขนส่งที่ต้องลงทุนสูงมาก เพราะต้องมีสถานีบริการ (Terminal) เส้นทางวิ่ง (Track) และยานพาหนะ (Train) ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะประสบกับการขาดทุนมากกว่ากิจกรรมการขนส่งแบบอื่น



3. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก (Souvenir Business)

จากประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวของมนุษย์ตั้งแต่สมัยหลายพันปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามนุษย์มีการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เดินทางท่องเที่ยวเพื่อการค้า เพื่อการเจริญสัมพันธไมตรีทางการเมือง เพื่อศาสนา เป็นต้น และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวมีหลายกิจกรรมได้แก่ การศึกษาหาความรู้ การพักผ่อน การหาอาหารและเครื่องดื่มเพื่อประทังชีวิตรวมไปถึงการหาซื้อสินค้าที่มีจำหน่ายในถิ่นที่ไปเยือน และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นทั้งกิจกรรมที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยว หรือเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการท่องเที่ยว
ความหมายของสินค้าที่ระลึก (Souvenir) หมายถึง สิ่งของต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองของประเทศต่างๆ และมีความดึงดูดใจนักท่องเที่ยวในการซื้อ และนำผลิตผลนั้นๆ กลับไปยังภูมิลำเนาของตนเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ อาจจะเพื่อเป็นของที่ระลึก เพื่อเป็นของฝากหรือเพื่อใช้สอย
ลักษณะของสินค้าที่ระลึก
  1. เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น

  2. เป็นสินค้าหายาก ราคาแพง มีการผลิตและมีวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้น
  3. เป็นสินค้าราคาถูก
  4. มีความดึงดูดใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การตกแต่งลวดลายสีสัน

  5. เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่ายสะดวกซื้อ มีวางขายตามจุดต่างๆ อย่างเหมาะสม

  6. มีรูปร่างและน้ำหนักไม่เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง

  7. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุ แรงงานในท้องถิ่นนั้น

  8. มีการแสดงขั้นตอนวิธีการทำให้นักท่องเที่ยวได้ชมหรือได้ทดลองทำเป็นการสร้างความประทับใจและเห็นคุณค่าของสินค้านั้นๆ
4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage Business)


ธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็นตัวการสำคัญไม่น้อยในการชักจูงให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยว ณ ตำบลนั้นๆ สิ่งชักจูงใจอาจจะเป็นความหรูหราโอ่โถง รสชาติของอาหาร ความแปลกพิเศษของอาหารซึ่งมักจะไม่มีขาย ณ ที่อื่นๆ บริษัทการบินหลายบริษัทจะชักจูงผู้โดยสารให้ใช้บริการของตน โดยการโฆษณาเรื่องอาหารโดยเฉพาะ

5. ธุรกิจนำเที่ยว (Tourism Business)

“ธุรกิจนำเที่ยว” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 นั้นมุ่งหมายถึง “การนำเที่ยว” เป็นสำคัญ โดยต้องมีการติดต่อโดยตรงกับนักท่องเที่ยว ณ ที่ต่างๆ ส่วนจะมีการจัดบริการด้านการเดินทางสถานที่พักแรม อาหาร หรือมัคคุเทศก์หรือไม่ หรือมีมากน้อยเพียงใด เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “การนำเที่ยว” เท่านั้น

6. ธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ (Others Tourism Business)

นอกจากธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มฯลฯ ในองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้การท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณมากขึ้นแล้วยังมีธุรกิจประเภทอื่นๆ อีกหลากหลายประเภทซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นผลมาจากการพัฒนาทางนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีใหม่ๆ ของมนุษย์ ทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเปลี่ยนไป และปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการและมีส่วนส่งเสริมดึงนักท่องเที่ยวให้เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น สามารถจัดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ธุรกิจจัดการประชุมสัมมนา ธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการและสินค้า ธุรกิจเช่าซื้อลิขสิทธิ์ และธุรกิจการบันเทิงและนันทนาการ


2 ความคิดเห็น:

  1. มีศึกษาเรื่อง อนุรักษ์ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยว อาหารและเครื่องดื่มมั้ยครับ

    ตอบลบ